วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กติกาฟุตบอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กติกาฟุตบอล (อังกฤษThe Laws of the Game)[1] เป็นกฎและกติกาฟุตบอลสากลที่กำหนดโดยสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 17 ข้อ ดูแลโดยหน่วยงานไอเอฟเอบี

ฟุตบอลโลก


 ประวัติฟุตบอลโลก

หลังจากที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ได้มีการพยายามจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงชนะเลิศระหว่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศที่เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ปี 1906 ที่สวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศในยุคแรก ๆ แต่ประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของฟีฟ่าอธิบายว่าการแข่งขันนั้นล้มเหลวไป[5]
นัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ในการแข่งขันที่กลาสโกว์ ในปี ค.ศ. 1872 ระหว่างสก็อตแลนด์กับอังกฤษ[2] และในการแข่งขันชิงชนะเลิศระหว่างประเทศครั้งแรกที่ชื่อ บริติชโฮมแชมเปียนชิป ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884[3] กีฬาฟุตบอลเติบโตในส่วนอื่นของโลกนอกเหนือจากอังกฤษในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ มีการแนะนำกีฬาและแข่งขันประเภทนี้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 และ 1904 และที่กีฬาโอลิมปิกซ้อน 1906[4]
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 ในกรุงลอนดอน ฟุตบอลถือเป็นหนึ่งในกีฬาที่แข่งขันอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอล อังกฤษได้ดูแลในการจัดการแข่งขัน โดยผู้แข่งขันเป็นมือสมัครเล่นเท่านั้นและดูเป็นการแสดงมากกว่าการแข่งขัน โดยบริเตนใหญ่ (แข่งขันโดยทีมฟุตบอลสมัครเล่นทีมชาติอังกฤษ) ได้รับเหรียญทองในการแข่งขัน ต่อมาในโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 ที่สต็อกโฮล์มก็มีจัดขึ้นอีก โดยการแข่งขันจัดการโดยสมาคมฟุตบอลสวีเดน
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งแข่งขันฟุตบอลเฉพาะในทีมสมัครเล่น เซอร์โทมัส ลิปตันได้จัดการการแข่งขันที่ชื่อ การแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเซอร์โทมัสลิปตัน จัดขึ้นในตูรินในปี ค.ศ. 1909 เป็นการแข่งขันระหว่างสโมสร (ไม่ใช่ทีมชาติ) จากหลาย ๆ ประเทศ บางทีมเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศ การแข่งขันครั้งนี้บางครั้งอาจเรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก[6] มีทีมอาชีพเข้าแข่งขันจากทั้งในอิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ แต่สมาคมฟุตบอลอังกฤษปฏิเสธที่จะร่วมในการแข่งขันและไม่ส่งทีมนักฟุตบอลอาชีพมาแข่ง ลิปตันเชิญสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ จากมณฑลเดอแรม เป็นตัวแทนของอังกฤษแทน ซึ่งสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ชนะการแข่งขันและกลับมารักษาแชมป์ในปี 1911 ได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1914 ฟีฟ่าได้จำแนกการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกว่าเป็น "การแข่งขันชิงแชมป์สำหรับมือสมัครเล่น" และลงรับผิดชอบในการจัดการการแข่ง[7] และนี่เป็นการปูทางให้กับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทวีปเป็นครั้งแรก โดยในโอลิมปิกฤดูร้อน 1920 ที่มีทีมแข่งขันอย่างอียิปต์และทีมจากยุโรปอีก 13 ทีม มีผู้ชนะคือทีมเบลเยี่ยม[8] ต่อมาทีมอุรุกวัย ชนะในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกในอีก 2 ครั้งถัดไปคือในปี ค.ศ. 1924 และ 1928 และในปี ค.ศ. 1924 ถือเป็นยุคที่ฟีฟ่าก้าวสู่ระดับมืออาชีพ
สนามกีฬาเอสตาเดียวเซนเตนาเรียวสถานที่การจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ที่เมืองมอนเตวิเดโอประเทศอุรุกวัย
จากความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิก ฟีฟ่าพร้อมด้วยประธานที่ชื่อ ชูล รีเม ได้ผลักดันอีกครั้งโดยเริ่มมองหาหนทางในการจัดการแข่งขันนอกเหนือการแข่งขันโอลิมปิก ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1928 ที่ประชุมฟีฟ่าในอัมสเตอร์ดัมตัดสินใจที่จะจัดการแข่งขันด้วยตัวเอง[9] กับอุรุกวัย ที่เป็นแชมเปียนโลกอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง และเพื่อเฉลิมฉลอง 1 ศตวรรษแห่งอิสรภาพของอุรุกวัยในปี ค.ศ. 1930 ฟีฟ่าได้ประกาศว่าอุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก
สมาคมฟุตบอลของประเทศที่ได้รับการเลือก ได้รับการเชิญให้ส่งทีมมาร่วมแข่งขัน แต่เนื่องจากอุรุกวัยที่เป็นสถานที่จัดงาน นั่นหมายถึงระยะทางและค่าใช้จ่ายที่ต้องเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาจากฝั่งยุโรปมา ซึ่งแท้จริงแล้ว ไม่มีประเทศไหนในยุโรปตอบตกลงว่าจะส่งทีมมาร่วม จนกระทั่ง 2 เดือนก่อนการแข่งขัน ในที่สุดริเมตจึงสามารถเชิญทีมจากเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส โรมาเนียและยูโกสลาเวีย มีทีมเข้าร่วมทั้งหมด 13 ทีม โดยมี 7 ทีมจากทวีปอเมริกาใต้ 4 ทีมจากยุโรป และ 2 ทีมจากอเมริกาเหนือ
2 นัดแรกของการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก จัดขึ้นในวันเดียวกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 ผู้ชนะคือทีมฝรั่งเศส และทีมสหรัฐอเมริกา ชนะเม็กซิโก 4–1 และเบลเยี่ยม 3–0 ตามลำดับ โดยผู้ทำประตูแรกในฟุตบอลโลกมาจากลุกแซง โลร็องต์ จากฝรั่งเศส[10] ในนัดตัดสินทีมชาติอุรุกวัยชนะทีมชาติอาร์เจนตินา 4–2 ต่อหน้าผู้ชม 93,000 คนที่เมืองมอนเตวิเดโอ ทีมอุรุกวัยจึงเป็นชาติแรกที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก[11]

ฟุตบอลโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากที่เกิดการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้นแล้ว ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 ที่จัดขึ้นที่เมืองลอสแอนเจลิส ก็ไม่ได้รวมการแข่งขันฟุตบอลเข้าไปด้วย เนื่องจากความไม่ได้รับความนิยมในกีฬาฟุตบอลในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อเมริกันฟุตบอลได้รับความนิยมมากขึ้น ทางฟีฟ่าและคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ที่มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องผู้เล่นในฐานะมือสมัครเล่น ดังนั้นจึงไม่มีการแข่งขันฟุตบอลในเกมนี้[12] แต่ต่อมาฟุตบอลได้กลับมาในกีฬาโอลิมปิกใน โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 แต่ถูกลดความสำคัญลง เพราะความมีชื่อเสียงของฟุตบอลโลก
ประเด็นในการจัดการแข่งขันในช่วงแรกของฟุตบอลโลกที่เป็นความยากลำบากในการเดินทางข้ามทวีปและสงครามนั้น มีทีมจากอเมริกาใต้บางทีมยินดีที่จะเดินทางไปยุโรปในการแข่งขันในปี 1934 และ 1938 โดยทีมบราซิลเป็นทีมเดียวในอเมริกาใต้ที่เข้าแข่งขันทั้ง 2 ครั้งนี้ ส่วนการแข่งขันฟุตบอลโลก 1942 และ 1946 ได้มีการยกเลิกไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองและพักจากผลกระทบของสงครามโลก

ฟุตบอลโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ฟุตบอลโลก 1950 จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นครั้งแรกที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมการแข่งขัน ทีมสหราชอาณาจักรถอนตัวจากฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1920 ที่ไม่พอใจในบางส่วนที่ต้องเล่นกับประเทศที่พวกเขาทำสงครามด้วย และบางส่วนเพื่อประท้วงด้านอิทธิพลและการบังคับจากต่างชาติ[13] แต่ก็กลับเข้ามาร่วมในปี ค.ศ. 1946 หลังจากได้รับคำเชื้อเชิญจากฟีฟ่า[14] การแข่งขัน ทีมแชมเปียนอย่างอุรุกวัยก็กลับเข้ามาร่วม หลังจากที่คว่ำบาตรฟุตบอลโลกก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง โดยทีมอุรุกวัยชนะในการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่ชนะประเทศเจ้าภาพบราซิล นัดการแข่งขันนี้เรียกว่า "มารากานาซู" (โปรตุเกสMaracanaço)


       


มารยาทผู้ชม            

กีฬาฟุตบอลนั้นก็ต้องมีหลักเกณฑ์ในการชมและการเล่นฟุตบอลเหมือนกับการชมการแสดงอื่นๆที่จะต้องมีข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนนั้นเคารพและทำเหมือนกันเพราะทุกคนนั้นมีสิทธิ์เท่าเทียมกันไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม กฎเกณฑ์ของการผู้เล่นและผู้ชมที่ควรรู้แบบคราวๆนั้นที่อาจจะใช้ได้โดยทั่วไป คือ
1.มารยาทของผู้เล่น
1.1ต้องเคารพกรรมการ
1.2ต้องเคารพผู้เล่นฝังตรงข้าม
1.3ต้องมีน้ำใจ
1.4ต้องเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
            มารยาทของผู้เล่นอาจจะมีอย่างที่ยกตัวอย่างให้นั้น พวกเราชาวแทงบอลชุดก็สามารถนำไปใช้ได้เพื่อมีการแข่งขันกีฬาที่โรงเรียน หรือ ตารมชุมชน ต่างๆ ที่เขาจัดขึ้นเพื่อเยาวชนถ้าผู้เล่นนั้นทำตามมารยาทเหล่านี้ได้ก็ถือว่าผู้เล่นนั้นมีความสมัครใจจริงและรักในกีฬานั้นจริง
2มารยาทของผู้ชม
2.1เคารพคณะกรรมการ
2.2ให้เกียรติผู้เล่นในสนาม
2.3ให้เกียรติผู้ชมด้วย
2.4ควรดูด้วยความเพลิดเพลิน
2.5ไม่ควรด่าท้อทีมที่ไม่ชอบ
2.6เคารพกฎในสนาม
             มารยาทของผู้ชมนั้นยังมีอีกมากมายแต่เรานั้นนำมารยาทบ้างสิ่งที่ผู้ชมควรรู้และทราบมาให้เพื่อความเป็นกันเองของผู้ชมและผู้เล่นที่มีให้ต่อกันนั้น จะเป็นสิ่งที่ดี เพื่อผู้ชมนั้นเคารพผู้เล่น ผู้เล่นก็จะเคารพผู้ชมเหมือนกัน เพราะผู้เล่นจะถือว่าผู้ชมนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะผู้เล่นเป็นคนให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และความผ่อนคลายแก่ผู้ชม ผู้เล่นจึงต้องมีอัธยาศัยที่ดีเพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ชมที่เขาให้ความสนใจและจะได้เป็นการดูที่ไม่มีการชกต่อยกันหรือด่าท้อกันในสนามแม้แต่ผู้เล่นเองนั้นก็ยังต้องเคารพกำเกณฑ์เหมือนกันเพราะไม่ฉะนั้นผู้เล่นอาจจะไดใบแดงจากกรรมการและกรรมการนั้นอาจจะไล่ผู้เล่นออกจากสนามได้และผู้เล่นในทีมก็อาจจะไม่ค่อยพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย กีฬานั้นจะต้องมีกฎเกณฑ์และต้องมีการให้อภัยกันเสมอเพราะบ้างสิ่งนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบ แล้วเขาทำลงไปโดยที่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นถึงมีคำ คำนี้ขึ้นมาว่า “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” เพราะอย่างนี้เองทั้งผู้เล่นและผู้ชมก็ต้องเคารพกฎเกณฑ์เพื่อความสบายใจของผู้จัดที่อยากเห็นทุกคนมีความสุขไม่ใช่ความเสียใจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามีความเสียใจเกิดขึ้นมานั้นผู้จัดการแข่งขันอาจจะคิดที่จะไม่จัดการแข่งขันขึ้นมาอีกหรืองานต่างๆเพราะเขากลัวว่าอาจจะเกิดเรื่องที่ไม่ดีขึ้นมาอีก เพราะทางผู้จัดก็กลัวและเขาก็คิดว่าไม่อยากให้มีความเสียใจนั้นเกิดขึ้นมาอีกเหมือนกับทุกคน ผู้เล่นและผู้ชมนั้นควรให้ความเคารพกฎเกณฑ์เพื่อความสุขและความเพลิดเพลินของทุกฝ่าย